ประวัติ ของ โชจิโร อีดะ

อีดะเป็นคนท้องถิ่นจังหวัดยามางูจิ และสำเร็จการศึกษารุ่นที่ 20 ของโรงเรียนกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่นในปี ค.ศ. 1908 และรุ่นที่ 27 ของวิทยาลัยการทัพบกในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1915 อีดะได้รับการเลื่อนยศเป็นร้อยเอกในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1918 เขาเข้าร่วมในกองกำลังรบนอกประเทศญี่ปุ่นสำหรับการแทรกแซงไซบีเรียเพื่อต่อต้านกองกำลังบอลเชวิค โดยสนับสนุนกองกำลังรัสเซียขาวในประเทศรัสเซีย[1]

หลังจากรับราชการในตำแหน่งผู้ปกครองที่หลากหลายภายในกองเสนาธิการกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่น รวมถึงงานที่น่าเบื่อในฐานะอาจารย์ที่โรงเรียนทหารราบตั้งแต่ปี ค.ศ. 1932 ถึง 1934 อีดะได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้บัญชาการกรมทหารองครักษ์ที่ 4 ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1934 ถึง ค.ศ. 1935 และเขาได้เป็นเสนาธิการทหารบกคนต่อมาของกรมทหารองครักษ์ที่ 4 ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1935 ถึง ค.ศ. 1937

ด้วยการเริ่มต้นของสงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่สอง อีดะกลายเป็นเสนาธิการทหารบกของกองทัพญี่ปุ่นที่ 1 ในประเทศจีนเมื่อปี ค.ศ. 1938 และเขาได้รับการเลื่อนยศเป็นพลโทในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1939 เขาได้รับมอบหมายให้เป็นผู้บังคับบัญชากองทัพไต้หวันแห่งประเทศญี่ปุ่นตั้งแต่ปี ค.ศ. 1938 ถึง 1939 เขากลับไปยังกองทหารองครักษ์จักรพรรดิในฐานะผู้บัญชาการ และดำรงตำแหน่งจนถึง ค.ศ. 1941[2]

ด้วยการเริ่มต้นของสงครามแปซิฟิก อีดะถูกย้ายไปยังทางใต้เพื่อบัญชาการกองทัพญี่ปุ่นที่ 25 ในการยึดครองอินโดจีนของฝรั่งเศสโดยญี่ปุ่นเมื่อปี ค.ศ. 1941 เขาได้ก่อตั้งสำนักงานใหญ่ในไซ่ง่อนและเตรียมพร้อมสำหรับการบุกครองประเทศไทย ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1941 อีดะได้เข้าบัญชาการกองทัพญี่ปุ่นที่ 15 ที่เพิ่งจัดตั้งใหม่ ประกอบด้วยกองพลกองทัพบกจักรวรรดิญี่ปุ่นที่ 33 และกองพลกองทัพบกจักรวรรดิญี่ปุ่นที่ 55 เริ่มตั้งแต่วันที่ 8 ธันวาคม กองกำลังของเขาเอาชนะการต่อต้านไทยได้อย่างง่ายดาย และบังคับให้ไทยเข้าสู่สนธิสัญญาป้องกันร่วมกับญี่ปุ่น ส่วนวันที่ 20 มกราคม ค.ศ. 1942 กองพลของอีดะได้เข้าสู่ประเทศพม่า ในระหว่างการเริ่มต้นของการทัพพม่าที่ประสบความสำเร็จอย่างสูง[3]

พลทหาร 35,000 คนของอีดะเอาชนะกองกำลังของอังกฤษได้อย่างรวดเร็วแม้จะมีภูมิประเทศที่ไม่เอื้ออำนวยและเสบียงจำกัด ในวันที่ 8 มีนาคม อีดะได้ยึดร่างกุ้ง ทำการตัดถนนพม่าและแยกจีนออก ภายในเดือนพฤษภาคม กองกำลังอังกฤษและจีนในพม่าถูกส่งกลับไปยังอินเดียและจีนด้วยการบาดเจ็บล้มตายราว 30,000 คน เทียบกับความสูญเสียของญี่ปุ่นที่มีตัวเลขเพียง 7,000 คน[4]

เมื่อครั้งเรียกกลับสู่ประเทศญี่ปุ่นในปี ค.ศ. 1943 อีดะได้รับมอบหมายสู่หน่วยบัญชาการรักษาทั่วไป ส่วนในปี ค.ศ. 1944 เขาได้เป็นผู้บัญชาการทหารแห่งกองทัพเขตภาคกลาง แล้วออกจากราชการทหารในปีเดียวกัน

อย่างไรก็ตาม ในปี ค.ศ. 1945 อีดะได้รับการเรียกคืนกลับมารับราชการเพื่อบัญชาการกองทัพญี่ปุ่นที่ 30 ในประเทศแมนจูก่อนการรุกรานของสหภาพโซเวียต จากนั้น เขาถูกจับโดยกองทัพแดงและถูกจับเป็นเชลยศึกในสหภาพโซเวียตตั้งแต่ปี ค.ศ. 1945 ถึง 1950[5] ทั้งนี้ อีดะเสียชีวิตในโตเกียวเมื่อวันที่ 23 มกราคม ค.ศ. 1980

ก่อนหน้าโชจิโร อีดะถัดไป